ADISAK APIWONGSA

 

register2

head

นมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ๒๕๕๙

 

“ หกเป็งล่องฟ้า ไหว้สาพระธาตุดอยตุง ” ประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุดอยตุง ประจำปี ๒๕๕๙
วันที่  ๒๑ มีนาคม – ๒๒  มีนาคม  ๒๕๕๙ ณ วัดศาลาเชิงดอย วัดพระธาตุดอยตุง และพระธาตุดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

 

วันศุกร์ที่  ๑๘ – อาทิตย์ที่ ๒๐  มีนาคม  ๒๕๕๙

เวลา  ๐๙.๐๐ น.   –  เวลา  ๑๙.๐๐ น.  กิจกรรมการปฏิบัติธรรม

วันจักทร์ที่  ๒๑  มีนาคม  ๒๕๕๙

เวลา  ๐๗.๐๐ น. กิจกรรม“ขบวนแห่รัตนสัตตนังสักการะพระธาตุดอยตุง”

เวลา  ๐๙.๐๐  น.    กิจกรรมเดินจาริกแสวงบุญ “เตียวขึ้นดอย ตวยฮอยครูบา ไหว้สาพระธาตุดอยตุง”

เวลา  ๑๐.๐๐ น.     กิจกรรมพิธีสืบชะตาหลวงล้านนา “รวมพลคนปีกุน (กุญชร)”

เวลา  ๑๔.๐๐ น.    กิจกรรมพิธีตักน้ำทิพย์ ณ บ่อน้ำทิพย์

เวลา  ๑๙.๐๐  น.   กิจกรรมสมโภชน้ำทิพย์  การแสดงแสง สี เสียง “เป็งป้อยดอยตุง”

เวลา  ๒๐.๐๐  น.   พิธีเจริญพระพุทธมนต์  อบรมสมโภช เทศน์สวดเบิก

วันอังคารที่  ๒๒  มีนาคม  ๒๕๕๙

เวลา  ๐๔.๓๐  น.  กิจกรรมทำบุญตักบาตร

เวลา  ๐๘.๐๐  น.  กิจกรรมขบวนอันเชิญน้ำสรงพระราชทาน ขวนแห่เครื่องสักการะ ขบวนตุง โดยส่วนราชการท้องถิ่น และมวลชน จาก ๑๘ อำเภอ

Untitled-2

head2

ตำนานเกี่ยวกับพระธาตุดอยตุงปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองของล้านนาเป็นความเชื่อปรัมปราของจารีตการสืบทอดประวัติความเป็นมาแห่งดินแดนที่แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสลายและความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรชุมชนในบริเวณอันกว้างใหญ่ของลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกกและแม่น้ำสายที่เกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของพุทธศาสนาที่แพร่ขยายเข้าสู่ดินแดนบริเวณนี้

ปฐมธาตุเจดีย์แห่งล้านนาที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1454 โดยพระเจ้าอุชุตราชแห่งนครโยนกนาคพันธุ์ นั่นคือ พระมหาชินธาตุเจ้าบนดอยตุง ด้วยความเชื่อที่ว่าภายใต้พระมหาสถูปทั้งสององค์ของพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุงเป็นที่ประดิษฐานพระรากขวัญเบื้องซ้ายและพระบรมสารีริกธาตุส่วนอื่น ๆ

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานพระมหากัสสปนำพระธาตุรากขวัญเบื้องซ้ายและพระธาตุอื่น ๆ มาไว้ พระธาตุได้ชำแรกลึกลงไปในหิน พระมหากัสสปได้ทำตุง คันหนึ่งใหญ่ยาวมาก ว่ากันว่า ร่มเงาของตุงนั้นทาบไปถึงเมืองโยนก(เชียงแสน)ซึ่งขณะนั้นมีกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองอยู่แล้ว เป็นวงศ์ของสิงหนวติ

ครั้นสมัยพญามังรายนราช แห่งราชวงศ์สิงหนติ มหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

อนึ่งเนื่องจากปู่เจ้าลาวจก และพญามังราย (ชื่อคลายกันกับพญามังรายนราช แต่คนละพระองค์) ต้นวงศ์กษัตริย์เชียงราย – เชียงใหม่ ต่างประสูติในปีกุญ(ช้าง) พระธาตุดอยตุงจึงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีกุญ

พ.ศ.2470 ครูบาศรีวิชัยได้ทำการบูรณะองค์พระธาตุในแบบล้านนา กล่าวคือเป็นเจดีย์ก่ออิฐสอปูน ทรงระฆัง 8 เหลี่ยม ตั้งบนฐานปัทม์(บัว) 8 เหลี่ยม ประดับลูกแก้วอกไก่ 1 ชิ้น ฐานล่างสี่เหลี่ยมจตุรัสลด 3 ชั้น องค์ระฆังและบัลลังก์ 8 เหลี่ยมรองรับปล้องไฉน มีปลียอดประกอบฉัตร 5 ชั้น

kruba

head3

ในวันขึ้น 13 – 14 – 15 ค่ำ เดือน 4 (เดือน 6เหนืองเป็ง)เป็นประจำทุกปีจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม ศรัทธาประชาชนทั้งหลายทั้งภายในประเทศและฝั่งพม่าท่าขี้เหล็ก จนถึงเชียงตุงพม่าตลอดจนถึงพุทธศาสนิกชนทั้งในเขตฝั่งลาวขึ้นไปก็ขึ้นไปนมัสการกราบไหว้บูชาพระธาตุ

การขึ้นไปกราบไหว้พระธาตุดอยตุง สมัยก่อนไม่มีรถราขึ้นไป ประชาชนก็จะขึ้นทางเดินจากหมู่บ้านปางดอก ปัจจุบันเรียกว่าบ้านศาลาเชิงดอย ขึ้นไปต้องผ่านแม่น้ำถึง 32 ท่า การเดินทางขึ้นจะเริ่มขึ้นในวันที่ 13 ค่ำตอนบ่าย และเช้ามือของวัน 14 ค่ำ จะมีพิธีทางศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดงาน พระสงฆ์สามเณรทำวัตรเช้าจบแล้วจะสวดพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร เวลา 06.00 น. จะพร้อมใจกันทำบุญตักบาตรตามประเพณีที่ปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกๆปี จนถึงปัจจุบันนี้

 

 

ภาพกิจกรรมที่ผ่านมา

 

Ultimate Responsive Image Slider Plugin Powered By Weblizar

ผู้บริหารจังหวัด

© 2024
จัดทำโดย: กลุ่มงานยุทธศาตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนา สำนักงานจังหวัดเชียงราย
ที่อยู่ : ศาลากลางจังหวัด ถ.แม่ฟ้าหลวง ต.ริมกก อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย (แผนที่ตั้ง)
โทรศัพท์ : 053-177-336 / โทรสาร : 053-177346
อีเมล์ : saraban_chiangrai@moi.go.th
053-150181 กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด
053-150180 กลุ่มงานอำนวยการ
053-150194 กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด
053-177344 กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล
053-177341 หน่วยงานตรวจสอบภายใน
053-177351 กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2